วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทรัพยากรปะการัง

ปะการัง

          ปะการัง (Corals) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมซีเลนเตอราต้า (Phylum Coelenterata) ขนาดเล็ก มีโครงสร้างหินปูนห้อหุ้มตัวอ่อนนุ่มไว้ชั้นนอก ดำรงชีพ 2 แบบ คือ อยู่ตัวเดีอย (Solitary) หรืออยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม (Colony) มีรูปทรงต่าง ๆ เป็นแผ่น เป็นก้อนหรือกิ่งก้านซึ่งเกิดจากปะการังนับล้านตัวที่มาเกาะกันอยู่ โดยมีการสร้างโครงสร้างหินปูนแผ่ขยายไปเรื่อย ๆ กลายเป็นแนวปะการัง ปะการังจะเติบโตได้ดีเฉพาะบริเวณที่มีน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ 18-27 องศาเซลเซียส มี แสงแดดพอประมาณไม่ใช่แดดจัด น้ำไม่ขุ่นและมีความของน้ำไม่เกิน 50 เมตร ดังนัี้แนวปะการังจะเจริญเติบโตและมีอยู่เฉพาะน่านน้ำเขตอบอุ่นของโลกเท่านั้น

         ตัวประการังมีรูปเป็นทรงกระบอก มีขนาดเพียง 1 มิลิลิตร ถึง 1 เซนติเมตร มีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนฐานซึ่งอยู่ติดกับโครงสร้างแข็ง ส่วนลำตัวรูปทรงกระบอกและส่วนปากที่มีหนวดล้อมรอบ ในตอนกลางวันปะการังจะเก็บตัวอยู่ในโครงแข็ง พอกลางคืนก็จะแผ่ขยายหนวดออกดักจับเหยี่อตัวเล็ก ๆ ที่ล่องลอยมากับกระแสน้ำ 

                                         

    ปะการังตัวหนึ่ง ๆ เมื่อโตเต็มที่จะขยายพันธุ์โดยให้กำเนิดปะการังตัวเล็ก ๆ ซึ่งจะล่องลอยไปตามกระแสน้ำ และไปเกาะจับกับบริเวณที่เป็นส่วนแข็งของท้องทะเล เช่นก้อนหิน จากนั้นปะการังก็จะเริ่มสร้างโครงสร้างที่เป็นหินปูนห่อหุ้มตัวไว้และขยายไปเรื่อย ๆ จนเจริญเติบตัวเป็นกลุ่มก้อนรูปทรงต่าง ๆ ตามประเภทของปะการังนั้น ๆ ในปีหนึ่ง ๆ กลุ่มประการังจะสามารถสร้างโครงสร้างหินปูนได้เพียง 6-7 มิลิเมตรเท่านั้น กิ่งก้านสาขาของปะการังที่เราเห็นยาวประมาณ 10 เซนติเมตร นั้นต้องใช้ระยะเวลายาวนาน 10-15 ปี
          นอกจากนี้ยังมีสิ่งมีชีวิตสำคัญ ที่อาศัยอยู่ในแนวประการังอี ได้แก่
                    1. สาหร่ายเซลเดียว มีความสำคัญมากเพราะทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต เป็นอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น ตัวประการัง และแพลงก์ตอน
                    2. หญ้าทะเล รากของทะเลจะยึดตะกอนหน้าดินเหนียวเข้าด้วยกัน จึงช่วยป้องกันการกัดเซาะหน้าดินใต้ทะเล และยังเป็นอาหารของเต่าทะเล ปลาบางชนิดพะยูน
                    3. ฟองน้ำ เป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีลักษณะรูปร่างและสีสันสวยงามแตกต่างกันไปฟองน้ำจะผลิตสารที่มีคุณค่าให้แก่เพรียง หญ้าทะเล และสัตว์น้ำอื่น ๆ นอกจากนั้นฟองน้ำบางชนิด ก็เป็นอาหารของคนเราด้วย
                    4. ปะการังอ่อน ปะการังประเภทนี้ จะไม่มีโครงร้างหินปูนแข็งห่อหุ้มภายนอก แต่จะสร้างอยู่ข้างในตัว และสามารถสะบัดไหวไปมาตามกระแสน้ำได้ ปะการังอ่อนนี้จะมีสีสันสวยงาม มีทั้งเป็นต้น เป็นกอ และเป็นแผ่น
                    5. กัลปังหา เป็นปะการังชนิดหนึ่งที่มีหลายสี รูปทรงแผ่เป็นกิ่งก้านสาขาคล้ายต้นไม้ก้านหนึ่ง ๆ อาจยาวตั้งแต่ 2-3 นิ้ว ไปจนถึงเป็นเมตร
                    6. ดอกไม้ทะเล เป็นสัตว์เล็ก ๆ มีรูปร่างทรงกระบอก ด้านล่างเป็นฐานยึดติดกับก้อนหินมีหนวดอยู่ด้านบน หนวดนี้จะมีเข็มพิษสำหรับจับปลา เล็ก ๆ กินเป็นอาหาร ดอกไม้ทะเลมีสีสวยงามมากตั้งแต่สีม่วง ชมพู เขียว น้ำเงิน แม้ดอกไม้ทะเลมีหนวดที่มีเข็มพิษ แต่ จะมีปลาชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดงดอกไม้ทะเลคือ ปลาการ์ตูนซึ่งจะคอยกินเศษอาหารต่าง ๆ ที่เหลือจากดอกไม้ทะเล
                    7. หนอนทะเล จะอาศัยอยู่ในแนวปะการังตามซอกหลืบ หรือตามรอยแตกของหิน มีรูปร่างสีสันสวยงามมาก หนอนทะเลเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประการังผุกร่อนกลายเป็นทรายเพราะการขุดโพรงปะการังเป็นที่อยู่อาศัย
                    8. สัตว์อื่น ๆ ที่อาศัยในแนวปะการัง ได้แก่ หอยชนิดต่าง ๆ เช่น หอยเบี้ย หอยมือเสือ และหอยสังข์แตร หมึกทะเล กุ้งและปู ปลาต่าง ๆ เช่นปลาสิงโต ปลานกแก้ว ปลาการ์ตูน ปลาเก๋า นอกจากนั้น ก็ยังมีพวกปลิงทะเล หอยเม่น ดาวทะเล

ความสำคัญของแนวปะการัง
          1. แนวปะการังบริเวณชายฝั่งและแนวปะการังแบบกำแพงจะทำหน้าที่ป้องกันชายฝั่งจากการกัดเซาะของคลื่น กระแสน้ำโดยตรง ถ้าไม่มีแนวปะการังนี้ชายฝั่งทะเลจะถูกคลื่นลมทะเลทำลายอย่างรุนแรงทุกครั้ง
          2. แนวปะการังเป็นตัวสร้างทรายให้กับชายหาด โดยเกิดจากการสึกกร่อนของโครงสร้างหินปูนจากคลื่นลมและสัตว์บางชนิด
          3. แนวปะการังเป็นแหล่งอาหารมนุษย์ เพราะมีสัตว์ที่อยู่ในแนวปะการังมากมายเช่น ปลาหมึก หอย กุ้ง แมงกะพรุน ฯลฯ
          4. สารพิษบางอย่างซึ่งสัตว์ทะเลในแนวปะการังสร้างเพื่อป้องกันตัวเองนั้น สามารถนำมาสกัดใช้ทำยาได้ เช่น ยาต้านมะเร็ง เป็นต้น
          5. แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตที่สวยงามใต้ท้องทะเล เป็นแหล่งท่องเมี่ยวที่สำคัญยิ่ง

                   ปะการังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญบริเวณชายฝั่งทะเล เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์จำนวนมาก อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพาะพันธุ์วางไข่และหลบภัย ปะการังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล การประมง และมีส่วนช่วยรักษาสภาพสมดุลธรรมชาติของชายฝั่ง ช่วยลดความรุนแรงของคลื่นที่กระทบต่อชายฝั่ง ความสวยงามของแนวปะการังช่วยในด้านพักผ่อนหย่อนใจและเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างดี สามารถนำรายได้มาสู่ท้องถิ่น รวมทั้งในปัจจุบัน ได้มีการค้นคว้าเพื่อสกัดสารเคมีต่าง ๆ จากปะการัง สัตว์ และพืชที่อยู่ในแนวปะการัง เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ถ้าหากปะการังถูกทำลายหรือตายไปจะต้องใช้เวลานานมากกว่าที่จะฟื้นตัวขึ้นมาได้ การอนุรักษ์ปะการัง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจกัน และจะต้องรู้จักใช้อย่างถูกวิธีการ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดการทำลาย เพื่อจะได้รับประโยชน์จากมรดกทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นจะสามารถมีส่วนร่วมกับส่วนราชการ หรือรวมตัวกันเพื่อดูแลรักษาแนวปะการังในท้องถิ่นของตนให้คงอยู่

สาเหตุและผลกระทบปัญหาหารเสื่อมโทรมของแนวปะการัง
การเสื่อมโทรมตามธรรมชาติ
  1. คลื่นรุนแรงที่เกิดโดยลมพายุ 
                    2. สัตว์ทะเลบางชนิดกัดกินปะการังเป็นอาหาร เช่น ปลานกแก้วกัดกินโครงแข็งของปะการัง
                    3. สัตว์ทะเลบางชนิดกินเนื้อเยื้อของแนวปะการัง เช่น ปลาดาวหนาม
          การเสื่อมโทรมของปะการังตามธรรมชาติ ไม่สร้างความเสียหายร้ายแรง เพราะปะการังสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ทันการทำลาย

การเสื่อมโทรมจากการกระทำของมนุษย์
                                       1. การเก็บปะการังเป็นที่ระลึก ปะการัง 1 กิ่งที่ถูกหักเก็บไปเป็นของที่ระลึกนั้นต้องใช้เวลาสร้างนานนับร้อยปี
                                                    2. การทิ้งสมอเรือและถอนสมอในแนวปะการังเป็นการทำลายแนวปะการังที่รุนแรงที่สุด
                                                                                          3.การปล้อยน้ำเสียจากโรงงาน
                                                                                         4.การระเบิดปลา
                                                                                            5.การทิ้งขยะ


การอนุรักษ์ปะการัง
          1. ไม่เก็บปะการังที่หักหรือเก็บขึ้นมาจากท้องทะเล ในแต่ละกิ่งแต่ละก้านนั้น หมายถึง ชีวิตนับร้อยนับพันชีวิตที่ต้องตายลงจากโครงสร้างของปะการังที่ต้องใช้เวลานับร้อยนับพันปีในการเจริญเติบโต และการเสื่อมสลายของปะการังนั้นนำไปสู่ผลของการเสื่อมสูญอาหารจากทะเลในอนาคต เพราะปะการังเป็นที่อยู่อาศัยของชีวิตจากท้องทะเล เราจึงไม่ควรเก็บ ซื้อปะการังมาเป็นของที่ระลึก หรือประดับตู้ปลา
          2. ไม่ทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง การทอดสมอเรือในแนวปะการังเพื่อจอดเรือในแต่ละครั้งจะสร้างความเสียหายให้กับปะการัง ปัจจุบันได้มีการแก้ไขโดยการวางทุ่นเพื่อผูกเรือแทนการทอดสมอเรือ เพื่อการคุ้มครองปะการัง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยความช่วยเหลือทางวิชาการ จากมหาวิทยาลัยโรดส์ไอร์แลนด์ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดทำทุ่นเพื่อผูกเรือได้ประมาณ 2-3 ลำต่อทุ่น
          3. ไม่ทิ้งขยะ นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปต้องไม่ทิ้งขยะและเศษสิ่งของลงท้องทะเล เพราะธรรมชาติจะสวยงามได้ตลอดไป ตราบเท่าเราไม่เข้าไปทำลาย การค้าขายปะการัง ในฐานะประชาชนในท้องถิ่นของเราให้หมดไป
          4. นำเรือท้องกระจกเพื่อให้ดูปะการัง 
          5. ประชาสัมพันธ์ให้มีการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรปะการัง โดยให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้และคุณค่าของปะการังให้กับบุคคลทุกประเภท ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ในการป้องกันและฟื้นฟูปะการัง 
          6. ส่งเสริมให้กลุ่มชุมชน องค์กรเอกชนสมาคมหรือชมรมการท่องเที่ยว ร่วมกันจัดกิจกรรมในเรื่องการรักษาความสะอาด เพื่อการคุ้มครองปะการัง 












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น