วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทรัพยากรป่าไม้กับการลดปัญหาโลกร้อน

      ปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Effect) หรือที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (global warming) เกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) เป็นต้น ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลกเสมือนแผ่นกระจกในเรือนเพาะชำ ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกค่อยๆ สูงขึ้นจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544–2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1-6.4 องศาเซลเซียส 
      สาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนมากกว่าร้อยละ 75 เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล (Fossil Fuels) เช่น ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น รองลงมาคือ การสูญเสียคาร์บอนจากการทำลายป่าในเขตร้อนเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม จากรายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พบว่า ในปี พ.ศ 2543 ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ เท่ากับ 229.08 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent) เกิดจากกิจกรรมในภาคพลังงานมากที่สุดถึงร้อยละ 69.57 ในขณะที่ภาคป่าไม้มีการดูดซับมากกว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ถึงร้อยละ 3.44 เนื่องจากพื้นที่ป่าปลูกเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราการทำลายป่า 

      จะเห็นได้ว่า ต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นในป่าธรรมชาติ สวนป่า สวนสาธารณะ หรือริมถนน มีบทบาทสำคัญในการช่วยกักเก็บคาร์บอน เริ่มจากต้นไม้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศนำมาสร้างสารอินทรีย์ซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบและนำมากักเก็บไว้ในส่วนต่างๆ ได้แก่ ลำต้น กิ่ง และใบ และ ราก คนจำนวนมากจึงเห็นถึงความสำคัญของป่าไม้และการปลูกป่า ในเวทีระดับโลกได้ให้ความสำคัญกับการลดการทำลายป่าซึ่งมักเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาในเขตร้อน เนื่องจากความต้องการพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมเพิ่มมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากร และหลายพื้นที่ตัดไม้จนเกินกำลังผลิตของป่าเป็นสาเหตุให้ป่าเกิดความเสื่อมโทรม จึงมีกลไกการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา (Reducing Emissions from Deforestation and Degradation in Developing Countries) หรือที่รู้จักกันดีว่า REDD หรือ REDD plus จัดเป็นมาตรการสร้างแรงจูงใจทางบวกโดยการให้ค่าตอบแทนหรือเงินชดเชยแก่ประเทศที่สามารถลดอัตราการทำลายป่า หรือสามารถอนุรักษ์พื้นที่ป่าธรรมชาติไม่ให้ลดลงหรือเสื่อมโทรมลง ประเทศไทยเราเองก็อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งในด้านเทคนิค วิชาการ นโยบายการดำเนินงาน โครงสร้างองค์กรที่เกี่ยวข้อง และการสร้างความเข้าใจแก่ผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่อาศัยอยู่รอบแนวเขตป่าเพื่อรองรับมาตรการดังกล่าว 

      นอกจากนี้การปลูกป่าก็เป็นกิจกรรมหนึ่งในเวทีโลกที่ได้มีการกำหนดให้สามารถดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนพื้นฐานของความสมัครใจภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism) ของพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ “CDM” ซึ่งเป็นกิจกรรมการปลูกป่าในพื้นที่ที่เคยเป็นป่าและไม่เคยเป็นป่ามาก่อนก็ได้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการศึกษาพรรณไม้ที่มีศักยภาพสำหรับปลูก ภายใต้โครงการ CDM พบว่า การปลูกสวนป่าไม้สัก รอบตัดฟันประมาณ 30 ปี สามารถดูดซับ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 1.36-2.16 ตันต่อไร่ต่อปี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ปลูก เมื่อตัดฟันแล้วนำไม้สักจากสวนป่าไปใช้ประโยชน์ในการสร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องใช้อื่นๆ ที่มีอายุยืนนานไม้สักเหล่านั้นก็ยังคงสามารถกักเก็บคาร์บอนได้ตลอดอายุการใช้งาน และเมื่อทำการปลูกใหม่สวนสักที่ปลูกใหม่เหล่านั้นก็ยังคงดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ต่อไป ในขณะที่ไม้โตเร็ว เช่น กระถินเทพา กระถินเทพ และยูคาลิปตัส เป็นต้น สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงสุดมากกว่า 6 ตันต่อไร่ต่อปี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ปลูก สำหรับศักยภาพในการดูดซับ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของการปลูกพรรณไม้ต่างๆ สามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก คู่มือศักยภาพของพรรณไม้สำหรับส่งเสริมภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดภาคป่าไม้จัดพิมพ์โดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมกับ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีโครงการปลูกป่าเพื่อกักเก็บคาร์บอนในตลาดภาคสมัครใจ เป็นการดำเนินงานที่อยู่นอกกรอบพิธีสารเกียวโต มีกฎเกณฑ์เข้มงวดน้อยกว่าการดำเนินงานภายใต้พิธีสารเกียวโตจึงสามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ในประเทศไทยเองก็มีกิจกรรมหลายรูปแบบ ที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในภาคป่าไม้ รูปแบบกิจกรรม ที่สำคัญ เช่น ธนาคารต้นไม้ ป่าชุมชน การปลูกป่าในระบบวนเกษตร การปลูกและฟื้นฟูป่า ของภาคเอกชนในรูปแบบ CSR หรือการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม เป็นต้น

ตารางที่ 1 ศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของการปลูกพรรณไม้ต่างๆ 
ชนิด/กลุ่มพรรณไม้
ระยะปลูก/ความหนาแน่น
การดูดซับก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์
(ตัน/ไร่/ปี)
สัก
ระยะปลูก 4 x 4 เมตร 100 ต้น/ไร่
1.36-2.16
ยูคาลิปตัส
ระยะปลูก 2 x 3 เมตร 267 ต้น/ไร่
3.15-6.09
กระถินเทพา
ระยะปลูก 3 x 3 เมตร 178 ต้น/ไร่
4.00-6.09
กระถินณรงค์
ระยะปลูก 3 x 3 เมตร 178 ต้น/ไร่
2.27-4.40
กระถินยักษ์
ระยะปลูก 2 x 3 เมตร 267 ต้น/ไร่
0.77-6.49
โกงกาง
ระยะปลูก 1.5 x 1.5 เมตร 711 ต้น/ไร่
2.75
ยางพารา
ระยะปลูก 3 x 6 เมตร 144 ต้น/ไร่
4.22
ปาล์มน้ำมัน
ระยะปลูก 3 x 6 เมตร 144 ต้น/ไร่
2.49
พรรณไม้พื้นเมืองโตช้า
ไม่น้อยกว่า 100 ต้น/ไร่
0.95
พรรณไม้อเนกประสงค์
ไม่น้อยกว่า 100 ต้น/ไร่
1.47
พรรณไม้ปลูกในเมือง
ไม่น้อยกว่า 50 ต้น/ไร่
1.21


ประโยชน์ของต้นไม้ มีดังนี้
1.ต้นไม้จะ ช่วยคายออกซิเจนในช่วงกลางวัน ทำให้เราได้อากาศบริสุทธิ์ ซึ่งการได้สูดอากาศบริสุทธิ์ มีผลดีต่อสุขภาพ ของเรา
2. ช่วยดูดซับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดภาวะเรือนกระจก ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
3. เป็นร่มเงา บังแสงแดด ให้เกิดความร่มรื่น
4. เป็นที่อยู่ อาศัยของสัตว์ป่า
5. พืช ผล สามารถนำมารับประทานเป็นอาหาร หรือ ยารักษาโรคได้
6. เป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธาร เนื่องจากที่บริเวณราก ที่ดูดซับน้ำ และ แร่ธาตุ เป็นการกัก เก็บน้ำไว้บริเวณผิวดิน
7. บริเวณรากของต้นไม้ ที่ยึดผิวดิน ทำให้เกิดความแข็งแรงของบริเวณผิวดินป้องกันการพัง ทลายจากดินถล่ม เนื่องจากมีรากเป็นส่วนยึดผิวดินอยู่ ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด คือ การสาธิต การนำหญ้าแฝกมาประยุกต์ ป้องกันการพังทลาย ของหน้าดิน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระปรีชา สามารถของพระมหากษัตริย์ ประเทศของเรา
8. เป็นแนวป้องกัน การเกิดน้ำท่วม เนื่องจาก เมื่อเกิดสภาพที่น้ำเกินสมดุล ท่วมลงมาจากยอดเขา จะมีแนวป่า ต้นไม้ ช่วยชะลอความแรง จากเหตุการณ์น้ำท่วม
9. ลำต้น สามารถ นำมาแปรรูปทำประโยชน์ ต่างๆ เช่น บ้านเรือน ที่พักอาศัย สะพาน เฟอร์นิเจอร์ เรือ
10. การปลูกต้นไม้ เป็นการผ่อนคลายความเครียดได้อย่างนึง
11. เมื่อเจริญ สามารถนำไปขายได้ราคา โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก
12 ต้นไม้ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญต่อบรรดาสัตว์ป่า เป็นส่วนนึงในระบบนิเวศวิทยา

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/1403
        http://nru.ku.ac.th/KU_NRU_/?c=page&rpind42&pind=313&rind=42


         
วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2557
        กลุ่มของข้าพเจ้าได้ร่วมกันทำกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการปลูกต้นไม้ ซึ่งได้ไปปลูกกันที่ ริมคลองชลประทาน วัดหุบกระทิง และลานกีฬาสาธารณะ หมู่บ้านตั้งสุข อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 
ภาพปลูกต้นไม้ ริมคลองชลประทาน วัดหุบกระทิง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

ต้นไม้ที่ใช้ปลูก คือ ต้นแค เป็นไม้ยืนต้น เป็นไม้ริมถนน สามารถปลูกได้ทุกที่ และยังเป็นต้นไม้ที่ช่วยปรับปุ๋ยให้พื้นที่อีกด้วย :D
   


ขุดหลุม ๆ :)


ปลูกเสร็จแล้วจ้าาา รดน้ำสักหน่อยยย ~



ภาพปลูกต้นไม้ที่ลานกีฬาสาธารณะ หมู่บ้านตั้งสุข อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี


ต้นไม้ที่ปลูกคือ ต้นไข่เน่า ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ซึ่งเจริญเติบโตดีในพื่นที่ที่แห้งแล้ง





ร่วมมือ ร่วมใจกันนนน เฮ้ !!


















เสร็จเรียบร้อยยยย :3





เพื่อนติดธุระในวันที่ 23 สิงหาคม จึงได้แยกมาปลูกเอง ทีหลัง








ถ้าเราร่วมมือกัน ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โลกของเราก็จะกลับมาน่าอยู่เหมือนเดิม !!






วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทรัพยากรปะการัง

ปะการัง

          ปะการัง (Corals) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมซีเลนเตอราต้า (Phylum Coelenterata) ขนาดเล็ก มีโครงสร้างหินปูนห้อหุ้มตัวอ่อนนุ่มไว้ชั้นนอก ดำรงชีพ 2 แบบ คือ อยู่ตัวเดีอย (Solitary) หรืออยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม (Colony) มีรูปทรงต่าง ๆ เป็นแผ่น เป็นก้อนหรือกิ่งก้านซึ่งเกิดจากปะการังนับล้านตัวที่มาเกาะกันอยู่ โดยมีการสร้างโครงสร้างหินปูนแผ่ขยายไปเรื่อย ๆ กลายเป็นแนวปะการัง ปะการังจะเติบโตได้ดีเฉพาะบริเวณที่มีน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ 18-27 องศาเซลเซียส มี แสงแดดพอประมาณไม่ใช่แดดจัด น้ำไม่ขุ่นและมีความของน้ำไม่เกิน 50 เมตร ดังนัี้แนวปะการังจะเจริญเติบโตและมีอยู่เฉพาะน่านน้ำเขตอบอุ่นของโลกเท่านั้น

         ตัวประการังมีรูปเป็นทรงกระบอก มีขนาดเพียง 1 มิลิลิตร ถึง 1 เซนติเมตร มีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนฐานซึ่งอยู่ติดกับโครงสร้างแข็ง ส่วนลำตัวรูปทรงกระบอกและส่วนปากที่มีหนวดล้อมรอบ ในตอนกลางวันปะการังจะเก็บตัวอยู่ในโครงแข็ง พอกลางคืนก็จะแผ่ขยายหนวดออกดักจับเหยี่อตัวเล็ก ๆ ที่ล่องลอยมากับกระแสน้ำ 

                                         

    ปะการังตัวหนึ่ง ๆ เมื่อโตเต็มที่จะขยายพันธุ์โดยให้กำเนิดปะการังตัวเล็ก ๆ ซึ่งจะล่องลอยไปตามกระแสน้ำ และไปเกาะจับกับบริเวณที่เป็นส่วนแข็งของท้องทะเล เช่นก้อนหิน จากนั้นปะการังก็จะเริ่มสร้างโครงสร้างที่เป็นหินปูนห่อหุ้มตัวไว้และขยายไปเรื่อย ๆ จนเจริญเติบตัวเป็นกลุ่มก้อนรูปทรงต่าง ๆ ตามประเภทของปะการังนั้น ๆ ในปีหนึ่ง ๆ กลุ่มประการังจะสามารถสร้างโครงสร้างหินปูนได้เพียง 6-7 มิลิเมตรเท่านั้น กิ่งก้านสาขาของปะการังที่เราเห็นยาวประมาณ 10 เซนติเมตร นั้นต้องใช้ระยะเวลายาวนาน 10-15 ปี
          นอกจากนี้ยังมีสิ่งมีชีวิตสำคัญ ที่อาศัยอยู่ในแนวประการังอี ได้แก่
                    1. สาหร่ายเซลเดียว มีความสำคัญมากเพราะทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต เป็นอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น ตัวประการัง และแพลงก์ตอน
                    2. หญ้าทะเล รากของทะเลจะยึดตะกอนหน้าดินเหนียวเข้าด้วยกัน จึงช่วยป้องกันการกัดเซาะหน้าดินใต้ทะเล และยังเป็นอาหารของเต่าทะเล ปลาบางชนิดพะยูน
                    3. ฟองน้ำ เป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีลักษณะรูปร่างและสีสันสวยงามแตกต่างกันไปฟองน้ำจะผลิตสารที่มีคุณค่าให้แก่เพรียง หญ้าทะเล และสัตว์น้ำอื่น ๆ นอกจากนั้นฟองน้ำบางชนิด ก็เป็นอาหารของคนเราด้วย
                    4. ปะการังอ่อน ปะการังประเภทนี้ จะไม่มีโครงร้างหินปูนแข็งห่อหุ้มภายนอก แต่จะสร้างอยู่ข้างในตัว และสามารถสะบัดไหวไปมาตามกระแสน้ำได้ ปะการังอ่อนนี้จะมีสีสันสวยงาม มีทั้งเป็นต้น เป็นกอ และเป็นแผ่น
                    5. กัลปังหา เป็นปะการังชนิดหนึ่งที่มีหลายสี รูปทรงแผ่เป็นกิ่งก้านสาขาคล้ายต้นไม้ก้านหนึ่ง ๆ อาจยาวตั้งแต่ 2-3 นิ้ว ไปจนถึงเป็นเมตร
                    6. ดอกไม้ทะเล เป็นสัตว์เล็ก ๆ มีรูปร่างทรงกระบอก ด้านล่างเป็นฐานยึดติดกับก้อนหินมีหนวดอยู่ด้านบน หนวดนี้จะมีเข็มพิษสำหรับจับปลา เล็ก ๆ กินเป็นอาหาร ดอกไม้ทะเลมีสีสวยงามมากตั้งแต่สีม่วง ชมพู เขียว น้ำเงิน แม้ดอกไม้ทะเลมีหนวดที่มีเข็มพิษ แต่ จะมีปลาชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดงดอกไม้ทะเลคือ ปลาการ์ตูนซึ่งจะคอยกินเศษอาหารต่าง ๆ ที่เหลือจากดอกไม้ทะเล
                    7. หนอนทะเล จะอาศัยอยู่ในแนวปะการังตามซอกหลืบ หรือตามรอยแตกของหิน มีรูปร่างสีสันสวยงามมาก หนอนทะเลเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประการังผุกร่อนกลายเป็นทรายเพราะการขุดโพรงปะการังเป็นที่อยู่อาศัย
                    8. สัตว์อื่น ๆ ที่อาศัยในแนวปะการัง ได้แก่ หอยชนิดต่าง ๆ เช่น หอยเบี้ย หอยมือเสือ และหอยสังข์แตร หมึกทะเล กุ้งและปู ปลาต่าง ๆ เช่นปลาสิงโต ปลานกแก้ว ปลาการ์ตูน ปลาเก๋า นอกจากนั้น ก็ยังมีพวกปลิงทะเล หอยเม่น ดาวทะเล

ความสำคัญของแนวปะการัง
          1. แนวปะการังบริเวณชายฝั่งและแนวปะการังแบบกำแพงจะทำหน้าที่ป้องกันชายฝั่งจากการกัดเซาะของคลื่น กระแสน้ำโดยตรง ถ้าไม่มีแนวปะการังนี้ชายฝั่งทะเลจะถูกคลื่นลมทะเลทำลายอย่างรุนแรงทุกครั้ง
          2. แนวปะการังเป็นตัวสร้างทรายให้กับชายหาด โดยเกิดจากการสึกกร่อนของโครงสร้างหินปูนจากคลื่นลมและสัตว์บางชนิด
          3. แนวปะการังเป็นแหล่งอาหารมนุษย์ เพราะมีสัตว์ที่อยู่ในแนวปะการังมากมายเช่น ปลาหมึก หอย กุ้ง แมงกะพรุน ฯลฯ
          4. สารพิษบางอย่างซึ่งสัตว์ทะเลในแนวปะการังสร้างเพื่อป้องกันตัวเองนั้น สามารถนำมาสกัดใช้ทำยาได้ เช่น ยาต้านมะเร็ง เป็นต้น
          5. แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตที่สวยงามใต้ท้องทะเล เป็นแหล่งท่องเมี่ยวที่สำคัญยิ่ง

                   ปะการังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญบริเวณชายฝั่งทะเล เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์จำนวนมาก อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพาะพันธุ์วางไข่และหลบภัย ปะการังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล การประมง และมีส่วนช่วยรักษาสภาพสมดุลธรรมชาติของชายฝั่ง ช่วยลดความรุนแรงของคลื่นที่กระทบต่อชายฝั่ง ความสวยงามของแนวปะการังช่วยในด้านพักผ่อนหย่อนใจและเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างดี สามารถนำรายได้มาสู่ท้องถิ่น รวมทั้งในปัจจุบัน ได้มีการค้นคว้าเพื่อสกัดสารเคมีต่าง ๆ จากปะการัง สัตว์ และพืชที่อยู่ในแนวปะการัง เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ถ้าหากปะการังถูกทำลายหรือตายไปจะต้องใช้เวลานานมากกว่าที่จะฟื้นตัวขึ้นมาได้ การอนุรักษ์ปะการัง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจกัน และจะต้องรู้จักใช้อย่างถูกวิธีการ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดการทำลาย เพื่อจะได้รับประโยชน์จากมรดกทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นจะสามารถมีส่วนร่วมกับส่วนราชการ หรือรวมตัวกันเพื่อดูแลรักษาแนวปะการังในท้องถิ่นของตนให้คงอยู่

สาเหตุและผลกระทบปัญหาหารเสื่อมโทรมของแนวปะการัง
การเสื่อมโทรมตามธรรมชาติ
  1. คลื่นรุนแรงที่เกิดโดยลมพายุ 
                    2. สัตว์ทะเลบางชนิดกัดกินปะการังเป็นอาหาร เช่น ปลานกแก้วกัดกินโครงแข็งของปะการัง
                    3. สัตว์ทะเลบางชนิดกินเนื้อเยื้อของแนวปะการัง เช่น ปลาดาวหนาม
          การเสื่อมโทรมของปะการังตามธรรมชาติ ไม่สร้างความเสียหายร้ายแรง เพราะปะการังสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ทันการทำลาย

การเสื่อมโทรมจากการกระทำของมนุษย์
                                       1. การเก็บปะการังเป็นที่ระลึก ปะการัง 1 กิ่งที่ถูกหักเก็บไปเป็นของที่ระลึกนั้นต้องใช้เวลาสร้างนานนับร้อยปี
                                                    2. การทิ้งสมอเรือและถอนสมอในแนวปะการังเป็นการทำลายแนวปะการังที่รุนแรงที่สุด
                                                                                          3.การปล้อยน้ำเสียจากโรงงาน
                                                                                         4.การระเบิดปลา
                                                                                            5.การทิ้งขยะ


การอนุรักษ์ปะการัง
          1. ไม่เก็บปะการังที่หักหรือเก็บขึ้นมาจากท้องทะเล ในแต่ละกิ่งแต่ละก้านนั้น หมายถึง ชีวิตนับร้อยนับพันชีวิตที่ต้องตายลงจากโครงสร้างของปะการังที่ต้องใช้เวลานับร้อยนับพันปีในการเจริญเติบโต และการเสื่อมสลายของปะการังนั้นนำไปสู่ผลของการเสื่อมสูญอาหารจากทะเลในอนาคต เพราะปะการังเป็นที่อยู่อาศัยของชีวิตจากท้องทะเล เราจึงไม่ควรเก็บ ซื้อปะการังมาเป็นของที่ระลึก หรือประดับตู้ปลา
          2. ไม่ทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง การทอดสมอเรือในแนวปะการังเพื่อจอดเรือในแต่ละครั้งจะสร้างความเสียหายให้กับปะการัง ปัจจุบันได้มีการแก้ไขโดยการวางทุ่นเพื่อผูกเรือแทนการทอดสมอเรือ เพื่อการคุ้มครองปะการัง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยความช่วยเหลือทางวิชาการ จากมหาวิทยาลัยโรดส์ไอร์แลนด์ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดทำทุ่นเพื่อผูกเรือได้ประมาณ 2-3 ลำต่อทุ่น
          3. ไม่ทิ้งขยะ นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปต้องไม่ทิ้งขยะและเศษสิ่งของลงท้องทะเล เพราะธรรมชาติจะสวยงามได้ตลอดไป ตราบเท่าเราไม่เข้าไปทำลาย การค้าขายปะการัง ในฐานะประชาชนในท้องถิ่นของเราให้หมดไป
          4. นำเรือท้องกระจกเพื่อให้ดูปะการัง 
          5. ประชาสัมพันธ์ให้มีการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรปะการัง โดยให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้และคุณค่าของปะการังให้กับบุคคลทุกประเภท ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ในการป้องกันและฟื้นฟูปะการัง 
          6. ส่งเสริมให้กลุ่มชุมชน องค์กรเอกชนสมาคมหรือชมรมการท่องเที่ยว ร่วมกันจัดกิจกรรมในเรื่องการรักษาความสะอาด เพื่อการคุ้มครองปะการัง 












วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทรัพยากรป่าชายเลน

ป่าชายเลน (Mangrove forest) คือ ระบบนิเวศที่ประกอบไปด้วยพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หลายชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย และมีน้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงพบป่าชายเลนปรากฏอยู่ทั่วไปตามบริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ ทะเลสาบ และ รอบเกาะแก่งต่างๆ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล พันธุ์ไม้ที่มีมากและมีบทบาทสำคัญที่สุดในป่าชายเลน คือ ไม้โกงกาง ป่าชายเลนจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ป่าโกงกาง
ความสำคัญและประโยชน์ของป่าชายเลน 
ป่าชายเลนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของชายฝั่งทะเลและนับเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า มหาศาลทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศ
ป่าชายเลนเป็นแหล่งพลังงาน และแหล่งวัตถุดิบไม้ใช้สอยและก่อสร้างในครัวเรือน
แหล่งพลังงานที่สำคัญในป่าชายเลนได้มาจากถ่าน ไม้ป่าชายเลนที่นิยมนำมาเผาถ่านคือ ไม้ โกงกาง เพราะติดไฟทนทาน ไม่มีควัน ไม่ปะทุแตกไฟ ได้ก้อนถ่านสวยงาม ขายได้ราคาดี ปัจจุบัน ถ่านไม้โกงกางที่มีชื่อเสียง คือถ่านไม้โกงกางบ้านยี่สาร จ.สมุทรสงคราม นอกจากนี้ไม้ป่าชายเลนมีประโยชน์ใช้สอยและก่อสร้าง เช่น ไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยัน ไม้ ก่อสร้าง แพปลา อุปกรณ์การประมง เฟอร์นิเจอร์ ไม้หลายชนิดนำมาสกัดจะได้แทนนิน ใช้ทำน้ำ หมึก ทำสี ทำกาว ย้อมอวน ฟอกหนัง เป็นต้น
ป่าชายเลนเป็นแหล่งพืชผักและพืชสมุนไพร
พืชในป่าชายเลนสามารถนำมาใช้เป็นผักพื้นบ้านจำนวน หลายชนิด เช่น ใบชะคราม ยอดเป้ง ยอดผักเบี้ยทะเล ต้นจากก็เป็นพืชป่าชายเลนอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำส่วนต่างๆ มาใช้ ประโยชน์ได้ คือ ใบนำมาทำเป็นตับมุงหลังคา ใบอ่อนสามารถนำมามวนบุหรี่ได้ น้ำจากยอดอ่อน นำมาทำน้ำตาลจากรสชาติดี ผลใช้กินเป็นของหวาน พืชในป่าชายเลนหลายชนิดนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้ เช่น เหงือกปลาหมอ มะนาวผี ใช้ รักษาโรคผิวหนัง ผลของตะบูนขาวใช้รักษาโรคบิดและโรคท้องร่วงได้ รากตาตุ่มทะเลใช้แก้อักเสบ แก้ไข้ แก้คัน เป็นต้น
ป่าชายเลนเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ
เศษซากพืชหรือเศษไม้ใบไม้และส่วนต่างๆ ของไม้ป่าชายเลนที่ร่วงหล่นลงมา จะถูกย่อย สลายกลายอินทรียวัตถุ กระบวนการย่อยสลายของอินทรียวัตถุเหล่านี้จะทำให้เกิดสารอินทรีย์ที่ ละลายน้ำ เช่น กรดอะมิโน ซึ่งสาหร่ายและจุลินทรีย์ต่างๆ จะสามารถใช้เป็นอาหารได้ และ จุลินทรีย์เหล่านี้เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนต่อไป
ป่าชายเลนเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นที่หลบภัยและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ นานาชนิด
สัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิดได้ใช้ป่าชายเลนเป็นที่อยู่อาศัย และอนุบาลตัว อ่อนในบางช่วงของวงจรชีวิตของมัน เช่น ปลากะพงขาว ปลานวลจันทร์ทะเล ปลากระบอก ปลา เก๋า กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย หอยดำ หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยแครง และหอยกะพง ปูแสม ปูม้า แต่สัตว์น้ำบางชนิดอาจใช้ป่าชายเลนเป็นทั้งแหล่งเกิดและอาศัยจนเติบโตสืบพันธุ์ เช่นปูทะเล
ป่าชายเลนช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่งและใกล้เคียงโดยเฉพาะหญ้า ทะเลและปะการัง
ป่าชายเลนมีบทบาทในการรักษาสมดุลของธาตุอาหารและความอุดมสมบูรณ์ของน้ำ ทะเลชายฝั่งซึ่งจะส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมง
ป่าชายเลนช่วยป้องกันดินพังทลายชายฝั่งทะเล
รากของต้นไม้ในป่าชายเลน นอกจากจะช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแล้ว ยังช่วย บรรเทาความเร็วจากกระแสน้ำลง ทำให้ทำให้ตะกอนที่แขวนลอยมากับน้ำทับถมเกิดเป็นแผ่นดิน งอกใหม่ เมื่อระยะเวลานาน ก็จะขยายออกไปในทะเลเกิดเป็นหาดเลน อันเหมาะสมแก่การเกิด ของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนต่อไป
ป่าชายเลนเป็นพื้นที่สำหรับดูดซับสิ่งปฏิกูลต่างๆ
รากของต้นไม้ในป่าชายเลนที่งอกออกมาเหนือพื้นดิน จะทำหน้าที่คล้ายตะแกรงธรรมชาติ คอยดักกรองสิ่งปฏิกูลต่างๆ และสารมลพิษต่างๆ จากบนบกไม่ให้ลงสู่ทะเล โลหะหนักหลายชนิด เมื่อถูกพัดพามาตามกระแสน้ำ ก็จะตกตะกอนลงที่บริเวณดินเลนในป่าชายเลน นอกจากนั้นขยะ และคราบน้ำมันต่างๆ ก็จะถูกดักกรองไว้ในป่าชายเลนเช่นกัน
ป่าชายเลนช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งจากภัย ธรรมชาติ
ป่าชายเลนทำหน้าที่เหมือนปราการ ช่วยบรรเทาความรุนแรงของคลื่นและลมให้ลด น้อยลง เมื่อเทียบกับบริเวณที่ไม่มีป่าชายเลน
ป่าชายเลนเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและแหล่งศึกษาธรรมชาติ
ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีลักษณะพิเศษหลายอย่าง เพราะเป็นแหล่งที่อุดมไป ด้วยพรรณไม้นานา ที่มี ใบ ดอกและผลสวยงาม แปลกตา อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่มีทั้งสัตว์น้ำและ สัตว์บกโดยเฉพาะนกชนิดต่างๆ อาศัยอยู่มากมาย ทำให้ป่าชายเลนเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งศึกษาหาความรู้ที่สำคัญยิ่ง
ป่าชายเลนช่วยลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
ไม้ในป่าชายเลนมีอัตราการสังเคราะห์แสงสูงจึงช่วยลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ และเพิ่มปริมาณออกซิเจน ทำให้อากาศสดชื่น

พืชในป่าชายเลน
ป่าชายเลนเป็นสังคมพืชที่ขึ้นอยู่บริเวณริมชายฝั่งทะเลที่มีกระแสน้ำขึ้นลงอยู่เสมอและน้ำ มีความเค็มสูง และในบางพื้นที่ยังมีลมพัดแรงและแสงแดดจัด พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้ จึงเป็นไม้ที่เจริญเติบโตภายใต้สภาวะแวดล้อมที่แตกต่างไปจากสังคมพืชชนิดอื่น ดังนั้น พันธุ์พืชในป่าชายเลนจำเป็นต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงลักษณะบางประการของระบบราก ลำต้น ใบ ดอก และผล ทั้งลักษณะภายในและภายนอกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การปรับตัวที่เห็นได้ชัดในสังคมพืชบริเวณป่าชายเลน คือ การมีรากค้ำจุน เนื่องจากดินป่าชายเลนเป็นดินเลนอ่อน และรากหายใจเนื่องจากใต้ผิวดินลงไปมีอากาศไม่เพียงพอใบของไม้ป่าชาย เลนมีลักษณะพิเศษคือมีต่อมขับเกลือ ใบอวบน้ำ แผ่นใบเป็นมัน และมีปากใบ ที่ผิวใบด้านล่างมี ผลงอกขณะที่ยังอยู่บนต้น ซึ่งผลเหล่านี้หลังจากที่หลุดจากต้นแม่ลงมาสู่พื้นดินแล้วจะทำให้ สามารถเจริญเติบโตทางความสูงได้อย่างรวดเร็ว พันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทยมีหลายชนิด มีความหลากหลายและมีชนิดของพันธุ์ไม้ที่แตกต่างกันไป สำนักอนุรักษ์ป่าชายเลนได้ศึกษาและจำแนกชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทย ทั้งสิ้น 81 ชนิด  ชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทย
สัตว์ในป่าชายเลน
สัตว์ในป่าชายเลน สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนนอกจาก สัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา และสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น นก สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และแมลงแล้ว ในป่าชายเลนยังพบตัวแทนของสัตว์เกือบทุกตระกูล ตั้งแต่สัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่น โปรโตซัว หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน และพวกไส้เดือนทะเลสัตว์พวกนี้จะมีหลายชนิด และดำรงชีวิตหลายแบบ กล่าวคือ บางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้และจับสัตว์อื่นเป็นอาหาร บางชนิดสามารถฝังตัวอยู่กับที่และกรองอาหารจากน้ำและบางชนิดก็ฝังตัวอยู่กับที่มีหนวดหรือระยางค์ออกกวาดอินทรีย์สารเป็นอาหาร สัตว์ในป่าชายเลนที่สำคัญได้แก่
1. ปลาที่พบในป่าชายเลน ปลาชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนมีหลายชนิดปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและพบมาก ได้แก่ ปลานวลจันทร์ทะเล และปลากะพงขาว ชนิดและความชุกชุมปลาจะแตกต่างตามฤดูกาลวางไข่ และกระแสน้ำและระดับความเข้มข้นของน้ำทะเล อุณหภูมิชนิดและจำนวนของสัตว์กินปลา ปลาในป่าชายเลนสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ ปลาที่อาศัยอยู่เป็นประจำ ปลาที่อาศัยอยู่ชั่วคราวปลาที่มากับกระแสน้ำ และปลาที่พบในบางฤดูกาล 
2. กุ้งที่พบในป่าชายเลน กุ้งในป่าชายเลนหรือกุ้งที่อาศัยอยู่ในน้ำกร่อยมี 15 ชนิด กุ้งที่สำคัญและมีค่าทางเศรษฐกิจสูง คือ กุ้งกุลาดำ และกุ้งแชบ๊วย นอกจากนี้ยังมีกุ้งบางชนิดที่ว่ายน้ำจากบริเวณน้ำจืดไปวางไข่บริเวณน้ำกร่อยอีก และที่สำคัญ ได้แก่ กุ้งก้ามกราม และกุ้งน้ำจืด เป็นต้น 
3. หอยที่พบในป่าชายเลน พวกหอยที่สำคัญ ได้แก่ หอยสองฝา เช่น หอยนางรม หอยแครง และ    หอยจอบ ซึ่งอาจจะฝั่งตัวในดินหรือเกาะตามต้นราก กิ่งและใบของไม้ป่าชายเลน นอกจากนี้ยังมีหอยเจาะซึ่งพบมากตามซากต้นไม้ที่หักพังด้วยหอบฝาเดียว ได้แก่ หอยขี้นก 
4. ปูที่พบบริเวณป่าชายเลน ปูที่พบในป่าชายเลนมีอยู่ประมาณ 30 ชนิด ที่รู้จักกันดี คือ ปูแสม และปูก้ามดาบ ซึ่งปูทั้ง 2 ชนิด นี้มีสีสันต่างๆ สวยงามสำหรับปูที่นิยมรับประทาน เป็นอาหารและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ คือ ปูทะเล 
5. นกที่พบบริเวณป่าชายเลน มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ โดยนกประจำถิ่นอาศัยกินและสร้างรังในป่าชายเลน เช่น นกยางเปีย นกกาน้ำเล็ก เหยี่ยวแดง และนกอพยพที่ใช้เส้นทางบินเดิมประจำทุกปี คือ กลุ่มนกชายเลนและนกทะเล ที่อพยพมาตามไหล่ทวีปมักพักนอนและหาอาหาร เพื่อสะสมพลังงานในป่าชายเลน เนื่องจากมีความเหมาะสมทั้งเรื่องอาหารที่มีสัตว์น้ำมากมาย ที่หลบภัยเช่น ลมฝน สัตว์ผู้ล่า นกในกลุ่มนี้ เช่น นกขนาดใหญ่     นกชายเลนปากช้อน นกนางนวลธรรมดา 

6. สัตว์ชนิดอื่นที่พบในป่าชายเลน ในบริเวณป่าชายเลน นากจากสัตว์น้ำชนิดต่างๆ แล้วยังพบสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ค้างคาว ลิงลม ลิงแสม หนูบ้าน นาก เสือปลา แมวป่า หมูป่า และเก้ง สัตว์เหล่านี้จะเข้ามาในบริเวณป่าชายเลนเป็นบางเวลาเพื่อหาอาหาร นากจากนี้ยังมีนกหลายชนิด งูชนิดต่างๆ ตะกวด เต่า และจระเข้
ที่มา : http://www.dmcr.go.th/marinecenter/mangrove.php
          http://marinegiscenter.dmcr.go.th/km/mangroves_doc06/#.U-98PPmSy1g