ทรัพยากรป่าชายเลน
ป่าชายเลน (Mangrove forest) คือ
ระบบนิเวศที่ประกอบไปด้วยพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หลายชนิด
ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย
และมีน้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ
ดังนั้นจึงพบป่าชายเลนปรากฏอยู่ทั่วไปตามบริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ
ทะเลสาบ และ รอบเกาะแก่งต่างๆ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล
พันธุ์ไม้ที่มีมากและมีบทบาทสำคัญที่สุดในป่าชายเลน คือ ไม้โกงกาง
ป่าชายเลนจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ป่าโกงกาง
ความสำคัญและประโยชน์ของป่าชายเลน
ป่าชายเลนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของชายฝั่งทะเลและนับเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า มหาศาลทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศ
• ป่าชายเลนเป็นแหล่งพลังงาน และแหล่งวัตถุดิบไม้ใช้สอยและก่อสร้างในครัวเรือน
แหล่งพลังงานที่สำคัญในป่าชายเลนได้มาจากถ่าน ไม้ป่าชายเลนที่นิยมนำมาเผาถ่านคือ ไม้ โกงกาง เพราะติดไฟทนทาน ไม่มีควัน ไม่ปะทุแตกไฟ ได้ก้อนถ่านสวยงาม ขายได้ราคาดี ปัจจุบัน ถ่านไม้โกงกางที่มีชื่อเสียง คือถ่านไม้โกงกางบ้านยี่สาร จ.สมุทรสงคราม นอกจากนี้ไม้ป่าชายเลนมีประโยชน์ใช้สอยและก่อสร้าง เช่น ไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยัน ไม้ ก่อสร้าง แพปลา อุปกรณ์การประมง เฟอร์นิเจอร์ ไม้หลายชนิดนำมาสกัดจะได้แทนนิน ใช้ทำน้ำ หมึก ทำสี ทำกาว ย้อมอวน ฟอกหนัง เป็นต้น
• ป่าชายเลนเป็นแหล่งพืชผักและพืชสมุนไพร
พืชในป่าชายเลนสามารถนำมาใช้เป็นผักพื้นบ้านจำนวน หลายชนิด เช่น ใบชะคราม ยอดเป้ง ยอดผักเบี้ยทะเล ต้นจากก็เป็นพืชป่าชายเลนอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำส่วนต่างๆ มาใช้ ประโยชน์ได้ คือ ใบนำมาทำเป็นตับมุงหลังคา ใบอ่อนสามารถนำมามวนบุหรี่ได้ น้ำจากยอดอ่อน นำมาทำน้ำตาลจากรสชาติดี ผลใช้กินเป็นของหวาน พืชในป่าชายเลนหลายชนิดนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้ เช่น เหงือกปลาหมอ มะนาวผี ใช้ รักษาโรคผิวหนัง ผลของตะบูนขาวใช้รักษาโรคบิดและโรคท้องร่วงได้ รากตาตุ่มทะเลใช้แก้อักเสบ แก้ไข้ แก้คัน เป็นต้น
• ป่าชายเลนเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ
เศษซากพืชหรือเศษไม้ใบไม้และส่วนต่างๆ ของไม้ป่าชายเลนที่ร่วงหล่นลงมา จะถูกย่อย สลายกลายอินทรียวัตถุ กระบวนการย่อยสลายของอินทรียวัตถุเหล่านี้จะทำให้เกิดสารอินทรีย์ที่ ละลายน้ำ เช่น กรดอะมิโน ซึ่งสาหร่ายและจุลินทรีย์ต่างๆ จะสามารถใช้เป็นอาหารได้ และ จุลินทรีย์เหล่านี้เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนต่อไป
• ป่าชายเลนเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นที่หลบภัยและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ นานาชนิด
สัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิดได้ใช้ป่าชายเลนเป็นที่อยู่อาศัย และอนุบาลตัว อ่อนในบางช่วงของวงจรชีวิตของมัน เช่น ปลากะพงขาว ปลานวลจันทร์ทะเล ปลากระบอก ปลา เก๋า กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย หอยดำ หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยแครง และหอยกะพง ปูแสม ปูม้า แต่สัตว์น้ำบางชนิดอาจใช้ป่าชายเลนเป็นทั้งแหล่งเกิดและอาศัยจนเติบโตสืบพันธุ์ เช่นปูทะเล
• ป่าชายเลนช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่งและใกล้เคียงโดยเฉพาะหญ้า ทะเลและปะการัง
ป่าชายเลนมีบทบาทในการรักษาสมดุลของธาตุอาหารและความอุดมสมบูรณ์ของน้ำ ทะเลชายฝั่งซึ่งจะส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมง
• ป่าชายเลนช่วยป้องกันดินพังทลายชายฝั่งทะเล
รากของต้นไม้ในป่าชายเลน นอกจากจะช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแล้ว ยังช่วย บรรเทาความเร็วจากกระแสน้ำลง ทำให้ทำให้ตะกอนที่แขวนลอยมากับน้ำทับถมเกิดเป็นแผ่นดิน งอกใหม่ เมื่อระยะเวลานาน ก็จะขยายออกไปในทะเลเกิดเป็นหาดเลน อันเหมาะสมแก่การเกิด ของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนต่อไป
• ป่าชายเลนเป็นพื้นที่สำหรับดูดซับสิ่งปฏิกูลต่างๆ
รากของต้นไม้ในป่าชายเลนที่งอกออกมาเหนือพื้นดิน จะทำหน้าที่คล้ายตะแกรงธรรมชาติ คอยดักกรองสิ่งปฏิกูลต่างๆ และสารมลพิษต่างๆ จากบนบกไม่ให้ลงสู่ทะเล โลหะหนักหลายชนิด เมื่อถูกพัดพามาตามกระแสน้ำ ก็จะตกตะกอนลงที่บริเวณดินเลนในป่าชายเลน นอกจากนั้นขยะ และคราบน้ำมันต่างๆ ก็จะถูกดักกรองไว้ในป่าชายเลนเช่นกัน
• ป่าชายเลนช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งจากภัย ธรรมชาติ
ป่าชายเลนทำหน้าที่เหมือนปราการ ช่วยบรรเทาความรุนแรงของคลื่นและลมให้ลด น้อยลง เมื่อเทียบกับบริเวณที่ไม่มีป่าชายเลน
• ป่าชายเลนเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและแหล่งศึกษาธรรมชาติ
ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีลักษณะพิเศษหลายอย่าง เพราะเป็นแหล่งที่อุดมไป ด้วยพรรณไม้นานา ที่มี ใบ ดอกและผลสวยงาม แปลกตา อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่มีทั้งสัตว์น้ำและ สัตว์บกโดยเฉพาะนกชนิดต่างๆ อาศัยอยู่มากมาย ทำให้ป่าชายเลนเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งศึกษาหาความรู้ที่สำคัญยิ่ง
• ป่าชายเลนช่วยลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
ไม้ในป่าชายเลนมีอัตราการสังเคราะห์แสงสูงจึงช่วยลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ และเพิ่มปริมาณออกซิเจน ทำให้อากาศสดชื่น
พืชในป่าชายเลน
ความสำคัญและประโยชน์ของป่าชายเลน
ป่าชายเลนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของชายฝั่งทะเลและนับเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า มหาศาลทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศ
• ป่าชายเลนเป็นแหล่งพลังงาน และแหล่งวัตถุดิบไม้ใช้สอยและก่อสร้างในครัวเรือน
แหล่งพลังงานที่สำคัญในป่าชายเลนได้มาจากถ่าน ไม้ป่าชายเลนที่นิยมนำมาเผาถ่านคือ ไม้ โกงกาง เพราะติดไฟทนทาน ไม่มีควัน ไม่ปะทุแตกไฟ ได้ก้อนถ่านสวยงาม ขายได้ราคาดี ปัจจุบัน ถ่านไม้โกงกางที่มีชื่อเสียง คือถ่านไม้โกงกางบ้านยี่สาร จ.สมุทรสงคราม นอกจากนี้ไม้ป่าชายเลนมีประโยชน์ใช้สอยและก่อสร้าง เช่น ไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยัน ไม้ ก่อสร้าง แพปลา อุปกรณ์การประมง เฟอร์นิเจอร์ ไม้หลายชนิดนำมาสกัดจะได้แทนนิน ใช้ทำน้ำ หมึก ทำสี ทำกาว ย้อมอวน ฟอกหนัง เป็นต้น
• ป่าชายเลนเป็นแหล่งพืชผักและพืชสมุนไพร
พืชในป่าชายเลนสามารถนำมาใช้เป็นผักพื้นบ้านจำนวน หลายชนิด เช่น ใบชะคราม ยอดเป้ง ยอดผักเบี้ยทะเล ต้นจากก็เป็นพืชป่าชายเลนอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำส่วนต่างๆ มาใช้ ประโยชน์ได้ คือ ใบนำมาทำเป็นตับมุงหลังคา ใบอ่อนสามารถนำมามวนบุหรี่ได้ น้ำจากยอดอ่อน นำมาทำน้ำตาลจากรสชาติดี ผลใช้กินเป็นของหวาน พืชในป่าชายเลนหลายชนิดนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้ เช่น เหงือกปลาหมอ มะนาวผี ใช้ รักษาโรคผิวหนัง ผลของตะบูนขาวใช้รักษาโรคบิดและโรคท้องร่วงได้ รากตาตุ่มทะเลใช้แก้อักเสบ แก้ไข้ แก้คัน เป็นต้น
• ป่าชายเลนเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ
เศษซากพืชหรือเศษไม้ใบไม้และส่วนต่างๆ ของไม้ป่าชายเลนที่ร่วงหล่นลงมา จะถูกย่อย สลายกลายอินทรียวัตถุ กระบวนการย่อยสลายของอินทรียวัตถุเหล่านี้จะทำให้เกิดสารอินทรีย์ที่ ละลายน้ำ เช่น กรดอะมิโน ซึ่งสาหร่ายและจุลินทรีย์ต่างๆ จะสามารถใช้เป็นอาหารได้ และ จุลินทรีย์เหล่านี้เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนต่อไป
• ป่าชายเลนเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นที่หลบภัยและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ นานาชนิด
สัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิดได้ใช้ป่าชายเลนเป็นที่อยู่อาศัย และอนุบาลตัว อ่อนในบางช่วงของวงจรชีวิตของมัน เช่น ปลากะพงขาว ปลานวลจันทร์ทะเล ปลากระบอก ปลา เก๋า กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย หอยดำ หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยแครง และหอยกะพง ปูแสม ปูม้า แต่สัตว์น้ำบางชนิดอาจใช้ป่าชายเลนเป็นทั้งแหล่งเกิดและอาศัยจนเติบโตสืบพันธุ์ เช่นปูทะเล
• ป่าชายเลนช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่งและใกล้เคียงโดยเฉพาะหญ้า ทะเลและปะการัง
ป่าชายเลนมีบทบาทในการรักษาสมดุลของธาตุอาหารและความอุดมสมบูรณ์ของน้ำ ทะเลชายฝั่งซึ่งจะส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมง
• ป่าชายเลนช่วยป้องกันดินพังทลายชายฝั่งทะเล
รากของต้นไม้ในป่าชายเลน นอกจากจะช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแล้ว ยังช่วย บรรเทาความเร็วจากกระแสน้ำลง ทำให้ทำให้ตะกอนที่แขวนลอยมากับน้ำทับถมเกิดเป็นแผ่นดิน งอกใหม่ เมื่อระยะเวลานาน ก็จะขยายออกไปในทะเลเกิดเป็นหาดเลน อันเหมาะสมแก่การเกิด ของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนต่อไป
• ป่าชายเลนเป็นพื้นที่สำหรับดูดซับสิ่งปฏิกูลต่างๆ
รากของต้นไม้ในป่าชายเลนที่งอกออกมาเหนือพื้นดิน จะทำหน้าที่คล้ายตะแกรงธรรมชาติ คอยดักกรองสิ่งปฏิกูลต่างๆ และสารมลพิษต่างๆ จากบนบกไม่ให้ลงสู่ทะเล โลหะหนักหลายชนิด เมื่อถูกพัดพามาตามกระแสน้ำ ก็จะตกตะกอนลงที่บริเวณดินเลนในป่าชายเลน นอกจากนั้นขยะ และคราบน้ำมันต่างๆ ก็จะถูกดักกรองไว้ในป่าชายเลนเช่นกัน
• ป่าชายเลนช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งจากภัย ธรรมชาติ
ป่าชายเลนทำหน้าที่เหมือนปราการ ช่วยบรรเทาความรุนแรงของคลื่นและลมให้ลด น้อยลง เมื่อเทียบกับบริเวณที่ไม่มีป่าชายเลน
• ป่าชายเลนเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและแหล่งศึกษาธรรมชาติ
ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีลักษณะพิเศษหลายอย่าง เพราะเป็นแหล่งที่อุดมไป ด้วยพรรณไม้นานา ที่มี ใบ ดอกและผลสวยงาม แปลกตา อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่มีทั้งสัตว์น้ำและ สัตว์บกโดยเฉพาะนกชนิดต่างๆ อาศัยอยู่มากมาย ทำให้ป่าชายเลนเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งศึกษาหาความรู้ที่สำคัญยิ่ง
• ป่าชายเลนช่วยลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
ไม้ในป่าชายเลนมีอัตราการสังเคราะห์แสงสูงจึงช่วยลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ และเพิ่มปริมาณออกซิเจน ทำให้อากาศสดชื่น
พืชในป่าชายเลน
ป่าชายเลนเป็นสังคมพืชที่ขึ้นอยู่บริเวณริมชายฝั่งทะเลที่มีกระแสน้ำขึ้นลงอยู่เสมอและน้ำ
มีความเค็มสูง และในบางพื้นที่ยังมีลมพัดแรงและแสงแดดจัด พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้
จึงเป็นไม้ที่เจริญเติบโตภายใต้สภาวะแวดล้อมที่แตกต่างไปจากสังคมพืชชนิดอื่น
ดังนั้น
พันธุ์พืชในป่าชายเลนจำเป็นต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงลักษณะบางประการของระบบราก
ลำต้น ใบ ดอก และผล ทั้งลักษณะภายในและภายนอกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การปรับตัวที่เห็นได้ชัดในสังคมพืชบริเวณป่าชายเลน
คือ การมีรากค้ำจุน เนื่องจากดินป่าชายเลนเป็นดินเลนอ่อน
และรากหายใจเนื่องจากใต้ผิวดินลงไปมีอากาศไม่เพียงพอใบของไม้ป่าชาย
เลนมีลักษณะพิเศษคือมีต่อมขับเกลือ ใบอวบน้ำ แผ่นใบเป็นมัน และมีปากใบ
ที่ผิวใบด้านล่างมี ผลงอกขณะที่ยังอยู่บนต้น
ซึ่งผลเหล่านี้หลังจากที่หลุดจากต้นแม่ลงมาสู่พื้นดินแล้วจะทำให้
สามารถเจริญเติบโตทางความสูงได้อย่างรวดเร็ว
พันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทยมีหลายชนิด
มีความหลากหลายและมีชนิดของพันธุ์ไม้ที่แตกต่างกันไป
สำนักอนุรักษ์ป่าชายเลนได้ศึกษาและจำแนกชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทย
ทั้งสิ้น 81 ชนิด ชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลนในประเทศไทย
สัตว์ในป่าชายเลน
สัตว์ในป่าชายเลน สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนนอกจาก สัตว์น้ำ
เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา และสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น นก สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม
สัตว์เลื้อยคลาน และแมลงแล้ว ในป่าชายเลนยังพบตัวแทนของสัตว์เกือบทุกตระกูล
ตั้งแต่สัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่น โปรโตซัว หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน
และพวกไส้เดือนทะเลสัตว์พวกนี้จะมีหลายชนิด และดำรงชีวิตหลายแบบ กล่าวคือ
บางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้และจับสัตว์อื่นเป็นอาหาร
บางชนิดสามารถฝังตัวอยู่กับที่และกรองอาหารจากน้ำและบางชนิดก็ฝังตัวอยู่กับที่มีหนวดหรือระยางค์ออกกวาดอินทรีย์สารเป็นอาหาร สัตว์ในป่าชายเลนที่สำคัญได้แก่
1. ปลาที่พบในป่าชายเลน ปลาชนิดต่างๆ
ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนมีหลายชนิดปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและพบมาก ได้แก่
ปลานวลจันทร์ทะเล และปลากะพงขาว ชนิดและความชุกชุมปลาจะแตกต่างตามฤดูกาลวางไข่
และกระแสน้ำและระดับความเข้มข้นของน้ำทะเล อุณหภูมิชนิดและจำนวนของสัตว์กินปลา
ปลาในป่าชายเลนสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ
ปลาที่อาศัยอยู่เป็นประจำ ปลาที่อาศัยอยู่ชั่วคราวปลาที่มากับกระแสน้ำ
และปลาที่พบในบางฤดูกาล
2. กุ้งที่พบในป่าชายเลน กุ้งในป่าชายเลนหรือกุ้งที่อาศัยอยู่ในน้ำกร่อยมี
15 ชนิด กุ้งที่สำคัญและมีค่าทางเศรษฐกิจสูง คือ กุ้งกุลาดำ
และกุ้งแชบ๊วย
นอกจากนี้ยังมีกุ้งบางชนิดที่ว่ายน้ำจากบริเวณน้ำจืดไปวางไข่บริเวณน้ำกร่อยอีก
และที่สำคัญ ได้แก่ กุ้งก้ามกราม และกุ้งน้ำจืด เป็นต้น
3. หอยที่พบในป่าชายเลน พวกหอยที่สำคัญ
ได้แก่ หอยสองฝา เช่น หอยนางรม หอยแครง และ หอยจอบ ซึ่งอาจจะฝั่งตัวในดินหรือเกาะตามต้นราก กิ่งและใบของไม้ป่าชายเลน
นอกจากนี้ยังมีหอยเจาะซึ่งพบมากตามซากต้นไม้ที่หักพังด้วยหอบฝาเดียว ได้แก่
หอยขี้นก
4. ปูที่พบบริเวณป่าชายเลน ปูที่พบในป่าชายเลนมีอยู่ประมาณ
30 ชนิด ที่รู้จักกันดี คือ ปูแสม และปูก้ามดาบ ซึ่งปูทั้ง 2
ชนิด นี้มีสีสันต่างๆ สวยงามสำหรับปูที่นิยมรับประทาน
เป็นอาหารและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ คือ ปูทะเล
5. นกที่พบบริเวณป่าชายเลน มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ
โดยนกประจำถิ่นอาศัยกินและสร้างรังในป่าชายเลน เช่น นกยางเปีย นกกาน้ำเล็ก เหยี่ยวแดง
และนกอพยพที่ใช้เส้นทางบินเดิมประจำทุกปี คือ กลุ่มนกชายเลนและนกทะเล
ที่อพยพมาตามไหล่ทวีปมักพักนอนและหาอาหาร เพื่อสะสมพลังงานในป่าชายเลน
เนื่องจากมีความเหมาะสมทั้งเรื่องอาหารที่มีสัตว์น้ำมากมาย ที่หลบภัยเช่น ลมฝน
สัตว์ผู้ล่า นกในกลุ่มนี้ เช่น นกขนาดใหญ่ นกชายเลนปากช้อน นกนางนวลธรรมดา
6. สัตว์ชนิดอื่นที่พบในป่าชายเลน ในบริเวณป่าชายเลน นากจากสัตว์น้ำชนิดต่างๆ
แล้วยังพบสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ค้างคาว ลิงลม ลิงแสม หนูบ้าน นาก เสือปลา
แมวป่า หมูป่า และเก้ง สัตว์เหล่านี้จะเข้ามาในบริเวณป่าชายเลนเป็นบางเวลาเพื่อหาอาหาร
นากจากนี้ยังมีนกหลายชนิด งูชนิดต่างๆ ตะกวด เต่า และจระเข้
ที่มา : http://www.dmcr.go.th/marinecenter/mangrove.php
http://marinegiscenter.dmcr.go.th/km/mangroves_doc06/#.U-98PPmSy1g
http://marinegiscenter.dmcr.go.th/km/mangroves_doc06/#.U-98PPmSy1g
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น