วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วิทยาศาสตร์ของภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ในปัจจุบัน โลกของเราร้อนกว่าที่เคยเป็นมาใน 2 พันปีที่ผ่านมา หากสภาพนี้ยังเกิดขึ้นต่อไป เมื่อทศวรรษนี้สิ้นสุดลง อุณหภูมิของโลกมีแนวโน้มที่จะพุ่งสูงกว่าที่เคยเป็นมาใน 2 ล้านปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าเมื่อศตวรรษที่ 20 สิ้นสุดลง สภาพอากาศอาจจะไม่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลก แต่สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นก็คือความร้อนนั้นเกิดขึ้นทั่วโลก และไม่สามารถอธิบายได้ด้วยกลไกทางธรรมชาติที่ใช้อธิบายความร้อนในช่วงเวลาที่ผ่านมา ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในวงกว้างเห็นร่วมกันว่ามนุษยชาติมีส่วนอย่างมากในการทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงนี้ และทางเลือกที่เราเลือกกระทำในวันนี้จะเป็นตัวกำหนดสภาพภูมิอากาศในอนาคต

เราทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างไร
เป็นเวลามากกว่า 1 ทศวรรษแล้วที่ผู้คนพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และ ก๊าซธรรมชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงาน การเผาไหม้เชื้อเพลิงปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนออกสู่บรรยากาศ ก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ที่สร้างผลกระทบมากกว่า ก็เป็นสาเหตุเช่นกัน รวมถึงการทำลายป่าอย่างมหาศาล
ความจริงที่เรารู้
แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอนต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างเรื่องเวลา ขอบเขต และ ภูมิภาค ของภาวะโลกร้อน แต่มีการยอมรับร่วมกันเรื่องข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้
• ก๊าซต่างๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซต์ในบรรยากาศนั้น ก่อให้เกิด "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" ซึ่งกักเก็บความร้อนเอาไว้และรักษาโลกให้อบอุ่นพอที่จะหล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิต ดังทีเราทราบกันดี
• การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน ฯลฯ) ปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ออกสู่บรรยากาศเพิ่มขึ้นอีก แม้ว่าคาร์บอนออกไซต์จะไม่ใช่ตัวการสร้างผลกระทบมากที่สุด แต่ก็เป็นก๊าซมนุษย์เป็นผู้ก่อให้เกิดมากที่สุด เนื่องถูกปล่อยออกมาปริมาณมาก

• ปัจจุบันความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซต์ในบรรยากาศอยู่ในระดับสูงที่สุดใน 150,000 ปี
• คาดว่าทศวรรษ 1990 เป็นทศวรรษที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ และ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นปีที่ร้อนที่สุด
นอกจากนี้ยังได้ยอมรับร่วมกันอย่างกว้างขวางในสิ่งต่อไปนี้
• ความร้อนที่เพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง นั่นคือ ราว 1.3 องศาเซลเซียส (2.3 องศาฟาเรนไฮท์) เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อพิจารณาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนถึงปัจจุบัน การจำกัดความร้อนให้อยู่ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส (3.6 ฟาเรนไฮท์) นั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
• ถ้าไม่สามารถควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ภาวะโลกร้อนใน 100 ปี ข้างหน้าจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมาตั้งแต่กำเนิดอารยธรรมมนุษย์

• เป็นไปได้สูงมากที่กลไกการตอบโต้ของสภาพภูมิอากาศจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศแบบทันทีและไม่สามารถกลับคืนเหมือนเดิม ไม่มีใครรู้ว่าภาวะโลกร้อนจะต้องรุนแรงมากขึ้นเพียงใดจึงจะจุดชนวนให้เกิด "สถานการณ์วันสิ้นโลก"
ที่มา : http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/climate-change-science/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น