นวัตกรรมรักษ์โลก
ช้อนส้อม จากผลไม้
นักออกแบบจีน Qiyun deng เป็นผู้สร้าง
ชุดของใช้บนโต๊ะอาหาร แบบใช้แล้วทิ้ง ที่อ้างอิงพื้นผิวของผักและผลไม้
ทำจากพลาสติกชีวภาพที่ได้มาจากแหล่งทรัพยากรทดแทน
ชุดของเครื่องใช้ย่อยสลายอย่างสมบูรณ์นี้ จะช่วยในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
มักจะแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง
โครงการนี้เป็นการผสมผสานพื้นผิวและสีของสินค้า
ที่ใช้ทำอาหารหรือใช้ตักอาหาร เช่น ช้อนส้อม หรือของมีคม เช่น มีด
ภาพที่แสดงผลจากแหล่งที่มาของเขา ใบของอาติโช๊ค จะกลายเป็นชาม ช้อนซุป
ก้านขึ้นฉ่ายเปลี่ยนเป็นที่จับของส้อม ก้านสับปะรดเป็นใบมีดของมีด และแครอททำหน้าที่เป็นที่จับของช้อนขนาดเล็ก
กระบวนการเริ่มต้นด้วยการตัดสินใจที่จะใช้ผิวพืชที่เป็นสื่อเนื้อสัมผัส
เริ่มแรก Deng เลือกผักและผลไม้ที่มีคุณสมบัติที่สัมผัสพิเศษ
และผลิตซ้ำได้ด้วยผิวหนังของพวกเขากับเรซิน เพื่อหาโปรแกรมที่เหมาะสม
พื้นผิวถูกคัดลอกอย่างรอบคอบ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาสามารถเชื่อมต่อกับแม่พิมพ์ชิ้นส่วนแบบ 3มิติ ได้อย่างลงตัว
Brick of weed phone
สุดยอดนวัตกรรมรักษ์โลก ที่เอาเศษใบไม้ใบหญ้ามาอัดแท่ง ยัดแผงวงจร
และหน้าจอเข้าไป กลายเป็นโทรศัพท์สุด eco ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
แถมยังหอมกลิ่นหญ้าอีกด้วย
บรรจุภัณฑ์ชานอ้อย “ไบโอ” นวัตกรรมใหม่ทดแทนกล่องโฟม
“ไบโอ” เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารที่ทำจากเยื่อกระดาษชานอ้อย
ซึ่งนำเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศจีนมาปรับปรุงใหม่ โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
กระทรวงอุตสาหกรรม และกลุ่มบริษัท เอ็มดีเอส จำกัด
บรรจุภัณฑ์ของไบโอนี้ ถือเป็นนวัตกรรมสีเขียวที่มีคุณสมบัติดีเด่นหลายประการ
ตั้งแต่กระบวนการผลิตที่เรียบง่าย ประหยัดพลังงานกว่าการผลิตพลาสติก
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้เยื่อจากไม้ยืนต้น และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า ECF
คือไม่ใช้คลอรีนในการฟอกสีเยื่อกระดาษ ทำให้ได้เยื่อกระดาษที่สะอาด
และปลอดภัย และผ่านการฆ่าเชื้อด้วยแสง UV อีกครั้ง
ก่อนจะส่งถึงผู้บริโภค
ในแง่การใช้งาน เมื่อเปรียบเทียบกับพลาสติกและโฟมก็พบว่า
ไบโอมีข้อดีกว่ามากตรงที่สามารถใช้ใส่น้ำ และอาหารทั้งเย็นจัดจนถึงร้อนจัด
(-40 ถึง 250 องศาเซลเซียส)
เข้าเตาอบและเตาไมโครเวฟได้ ไม่มีสารปนเปื้อนก่อมะเร็ง
ขณะที่โฟมและพลาสติกทำไม่ได้อย่างนี้ แถมยังมีการปนเปื้อนสารสไตรีน มอนอเมอร์ ไดออกซิน และไวนิลคลอไรต์ มอนอเมอร์ ซึ่งล้วนแต่เป็นสารก่อมะเร็งอันตรายต่อสุขภาพทั้งสิ้น
ขณะที่โฟมและพลาสติกทำไม่ได้อย่างนี้ แถมยังมีการปนเปื้อนสารสไตรีน มอนอเมอร์ ไดออกซิน และไวนิลคลอไรต์ มอนอเมอร์ ซึ่งล้วนแต่เป็นสารก่อมะเร็งอันตรายต่อสุขภาพทั้งสิ้น
สำคัญที่สุดคือ จานชามจากชานอ้อยย่อยสลายได้ในเวลา 45 วันเท่านั้นเอง
แต่อุปสรรคที่ทำให้คนส่วนใหญ่ยังไม่เปิดใจเปลี่ยนมาใช้จานชามจากชานอ้อย ก็เพราะ
ราคาที่แพงกว่าโฟม 2 เท่า
แม้ว่าจะถูกกว่าพลาสติกใช้แล้วทิ้งก็ตาม เมื่อคนใช้น้อย สินค้าผลิตน้อย
ต้นทุนต่อชิ้นจึงสูงแต่ถ้าเมื่อไหร่คนหันมาใช้เยอะขึ้น ราคาก็ย่อมจะถูกลง
เหมือนในหลายๆประเทศ ที่บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ราคาถูกกว่าโฟมแล้ว และในที่สุดภาชนะโฟมจะต้องสูญพันธุ์ไปจากโลกเสียที
ขณะนี้ “ไบโอ” ยังเป็นบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้เพียงแบรนด์เดียวของไทย
ที่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายอย่างเป็นจริงเป็นจัง ปริมาณที่ผลิตได้ยังแค่ 1% ของปริมาณโฟมที่คนไทยใช้กัน
กว่าจะถึงวันที่มีเรามีบรรจุภัณฑ์ปลอดภัยเป็นทางเลือกให้ใช้กันได้อย่างแพร่หลาย
ไม่รู้ว่าสุขภาพจะเป็นอันตราย โลกจะถูกทำร้าย และขยะจะล้นเมืองไปขนาดไหน
เมื่อโลกกำลังต้องการ
“บรรจุภัณฑ์สีเขียว” คุณพร้อมที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นอีกนิด
เพื่อโลกสีเขียวหรือเปล่า?
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/greenocean/2011/05/05/entry-1
http://www.smeleader.com/
http://home.truelife.com/detail/2918619
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น