วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

เที่ยวอยุธยา


สวัสดีค่ะ

               หลังจากที่กลุ่มของพวกเราได้ไปทัศนศึกษาที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2558 วันนี้เราจะนำประสบการณ์ดี ๆ มาแบ่งปันกันค่ะ ไปชมกันเลย ....
               เช้าวันที่ 16 มกราคม กลุ่มของพวกเราและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ได้เดินทางโดย รถปรับอากาศ ออกจาก จ.ราชบุรี เวลา 6.30น.  ถึงอยุธยาประมาณ  9 โมงกว่า ๆ ค่ะ และสถานที่แรกที่เราจะไปกันก็คือ พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่น (Million toy museum) และนี่ คือ บรรยากาศตอนลงจากรถค่ะ 




ตอนนี้...พวกเราก็ได้เข้ามาอยู่ในส่วนรอบนอกของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นสวน มีต้นไม้มากมาย บรรยากาศร่มรื่นมากเหมาะแก่การนั่งพักผ่อน ...
ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคาร 2 ชั้น ทาด้วยสีฟ้า ขาว มีประตู หน้าต่าง แบบบ้านสมัยเก่า ภายในรวบรวมของเล่นไว้มากมายค่ะ เดี๋ยวเราจะเข้าไปดูกัน ...




                 มาเริ่มกันที่ชั้นที่ 1 ...  เมื่อก้าวเข้าไปในตัวอาคาร ก็พบกับของเล่นต่าง ๆ จัดแสดงไว้มากมาย ส่วนใหญ่เป็นของเล่นไทยในยุคเก่าค่ะ มีการจัดแสดง แยกไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ 




               ของเล่นต่าง ๆ ที่เราได้เข้ามาเยี่ยมชมกัน เป็นผลงานการสะสมของ รศ. เกริก ยุ้นพันธ์ ซึ่งปัจจุบันท่านเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ท่านได้รับรางวัลนอมาจากประเทศญี่ปุ่นและได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ของเล่นคีตาฮารา ซึ่งมีของเล่นจัดแสดงมากมาย และนี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ท่านเริ่มเก็บสะสมของเล่น และได้ก่อตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ของเล่นขึ้น




            ของเล่นต่าง ๆ ที่จัดแสดง เป็นของเล่นตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่ง อ.เกริก ได้ใช้เวลากว่า 20 ปี ในการสะสมของเล่นเหล่านี้ค่ะ




                ของเล่นน่ารักทุกชิ้นเลยค่ะ บางชิ้นแปลกตา ไม่เคยเห็นมาก่อน บางชิ้นก็เป็นตัวการ์ตูนที่คุ้นเคย ทำให้ได้รู้เลยว่า ตัวการ์ตูนบางตัวที่ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็เกิดขึ้นมานานแล้วเหมือนกัน ~



  นอกจากจะมีของเล่นในยุคเก่า ยังมีเครื่องใช้ของคนไทยในยุคโบราณด้วยนะคะ ทั้งเครื่องปั้นดินเผา เครื่องรางของขลัง เครื่องเงินต่าง ๆ





ยังไม่หมดแค่นี้ ตามไปดูชั้น 2 กันต่อเลย ~
ชั้น 2 มีโมเดลของเล่นมากมายเลย ทั้งขนาดเล็ก ๆ น่ารัก ๆ จนถึงขนาดใหญ่ ๆ อย่างโมเดลอุลตราแมน และเหล่าซุปเปอร์ฮีโร่ต่าง ๆ





                     นอกจากของเล่นและเครื่องใช้แล้ว ยังมีภาพวาดสวย ๆ บนผนัง เกี่ยวกับตัวการ์ตูนต่าง ๆ ด้วย เป็นมุมถ่ายรูปที่เก๋ไก๋มากค่ะ ว่าแล้วก็มาถ่ายรูปกันเถอะ




                       มาถึงอยุธยา จะพลาดการท่องเที่ยวโบราณสถานได้อย่างไรกัน สถานที่ที่สองที่พวกเราจะไปกันนะคะ ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งใน จ.อยุธยา วัดหน้าพระเมรุค่ะ ว่าแล้วก็ออกเดินทางกันเลย ~



เมื่อมาถึงจะรู้สึกได้ถึงบรรยากาศอันสงบร่มรื่นของวัดแห่งนี้ รอบๆวัดมีต้นไม้ล้อมรอบมากมาย


ภายในมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่และพระโพธิสัตว์ให้ร่วมสักการบูชา ~~~~~
ไม่ใช่เพียงชาวไทยเท่านั้น ชาวต่างชาติต่างก็เข้ามาร่วมสักการบูชาด้วย


                  สถานที่ต่อไป เราจะไปนมัสการพระมงคลบพิตร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพระนครศรีอยุธยา ที่วัดมงคลบพิตร กันค่ะ
                  ถึงแล้วค่ะ รอบนอกของวัดเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ มีเจดีย์เก่ามากมายเลยค่ะ เข้าไปชมวัดกันเลย





               ด้านในวัด จะพบพระมงคลบพิตร พระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของชาวอยุธยา  เป็น

พระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่ มีนักท่องเที่ยวมานมัสการกันอย่างหนาแน่นเลยค่ะ มีทั้งชาวไทยและชาว

ต่างชาติ





                 หลังจากไหว้พระเสร็จแล้วนะคะ บริเวณหน้าวิหารมีศูนย์จำหน่ายสินค้าและของฝากด้วยค่ะ มีร้านค้าตั้งเรียงรายมากมาย ไปซื้อของฝากกัน ~




                  ภายในมีของขายมากมายเลยค่ะ ทั้งของกิน ของฝากต่าง ๆ และที่พลาดไม่ได้เลยก็คือ โรตีสายไหม ของขึ้นชื่อของ จ.อยุธยา ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะ เนื้อแป้งนุ่ม หอม และสายไหมที่หวานกำลังดี ได้ลองทานแล้วติดใจเลยค่ะ




              มาถึงสถานที่สุดท้ายที่เราจะไปกัน ตลาดน้ำอโยธยาค่ะ ถือเป็นตลาดน้ำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน จ.อยุธยาเลยก็ว่าได้ รูปแบบของตลาดจะออกแนวย้อนยุคแบบโบราณ มีสายน้ำ และธรรมชาติแบบไทยพื้นบ้าน มีร้านค้าต่าง ๆ มากมายซึ่งถูกจัดแบ่งเป็นโซน ๆ
พร้อมแล้วเข้าไปเยี่ยมชมกันเลยค่ะ ~





                  ภายในมีร้านค้ามากมาย ทั้งของตกแต่งน่ารัก ๆ พวงกุญแจ เสื้อสวย ๆ โปสการ์ด และอื่น ๆ อีกหลายอย่างเลยค่ะ




อาหารก็มีให้เลือกมากมาย ทั้งของคาว ของหวาน






ที่พลาดไม่ได้เลยก็ คือ ก๋วยเตี๋ยวเรือค่ะ





                     นอกจากเลือกซื้อของฝาก และอาหารอร่อย ๆ แล้ว ยังมีกิจกรรมให้เลือกทำอีกมากมาย เช่น

 ล่องเรือเที่ยวชมตลาดบรรยากาศของตลาด ถ่ายรูปกับเสือ ป้อนนมปลาคาร์ฟ ป้อนอาหารควาย ซุ้มเกม

ต่าง ๆ รวมถึงมีมุมน่ารัก ๆ สำหรับถ่ายรูปด้วย






จบไปแล้วสำหรับสถานที่สุดท้ายนะคะ

……………………………………….






        จากการเดินทางไปทัศนศึกษา จ.พระนครศรีอยุธยาในครั้งนี้ ทำให้พวกเรารับทราบได้ถึงเสน่ห์ของเมืองหลวงเก่าของไทยแห่งนี้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวัดวาอารามที่สวยงามและยิ่งใหญ่ สามารถรู้สึกได้ถึงความศรัทธาในศาสนาพุทธที่ไม่เพียงแต่คนไทยเท่านั้น ยังมีผู้คนอีกหลายประเทศที่เดินทางมาสักการะบูชาด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจจริง ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ทั้งพืชผักผลไม้ สินค้าขึ้นชื่อที่มีความโดดเด่นไม่เหมือนจังหวัดใด และอีกทั้งความใจดี ความมีน้ำใจและรอยยิ้มของคน จ.พระนครศรีอยุธยาที่เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาสัมผัสรู้สึกประทับใจ ถ้าหากใครกำลังมองหาที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในประเทศไทย จ.พระนครศรีอยุธยาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามไปค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.ayutthayastudies.aru.ac.th/content/view/204/116/
                                     http://www.tlcthai.com/travel/







วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทรัพยากรป่าไม้กับการลดปัญหาโลกร้อน

      ปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Effect) หรือที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (global warming) เกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) เป็นต้น ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลกเสมือนแผ่นกระจกในเรือนเพาะชำ ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกค่อยๆ สูงขึ้นจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544–2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1-6.4 องศาเซลเซียส 
      สาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนมากกว่าร้อยละ 75 เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล (Fossil Fuels) เช่น ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น รองลงมาคือ การสูญเสียคาร์บอนจากการทำลายป่าในเขตร้อนเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม จากรายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พบว่า ในปี พ.ศ 2543 ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ เท่ากับ 229.08 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent) เกิดจากกิจกรรมในภาคพลังงานมากที่สุดถึงร้อยละ 69.57 ในขณะที่ภาคป่าไม้มีการดูดซับมากกว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ถึงร้อยละ 3.44 เนื่องจากพื้นที่ป่าปลูกเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราการทำลายป่า 

      จะเห็นได้ว่า ต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นในป่าธรรมชาติ สวนป่า สวนสาธารณะ หรือริมถนน มีบทบาทสำคัญในการช่วยกักเก็บคาร์บอน เริ่มจากต้นไม้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศนำมาสร้างสารอินทรีย์ซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบและนำมากักเก็บไว้ในส่วนต่างๆ ได้แก่ ลำต้น กิ่ง และใบ และ ราก คนจำนวนมากจึงเห็นถึงความสำคัญของป่าไม้และการปลูกป่า ในเวทีระดับโลกได้ให้ความสำคัญกับการลดการทำลายป่าซึ่งมักเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาในเขตร้อน เนื่องจากความต้องการพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมเพิ่มมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากร และหลายพื้นที่ตัดไม้จนเกินกำลังผลิตของป่าเป็นสาเหตุให้ป่าเกิดความเสื่อมโทรม จึงมีกลไกการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา (Reducing Emissions from Deforestation and Degradation in Developing Countries) หรือที่รู้จักกันดีว่า REDD หรือ REDD plus จัดเป็นมาตรการสร้างแรงจูงใจทางบวกโดยการให้ค่าตอบแทนหรือเงินชดเชยแก่ประเทศที่สามารถลดอัตราการทำลายป่า หรือสามารถอนุรักษ์พื้นที่ป่าธรรมชาติไม่ให้ลดลงหรือเสื่อมโทรมลง ประเทศไทยเราเองก็อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งในด้านเทคนิค วิชาการ นโยบายการดำเนินงาน โครงสร้างองค์กรที่เกี่ยวข้อง และการสร้างความเข้าใจแก่ผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่อาศัยอยู่รอบแนวเขตป่าเพื่อรองรับมาตรการดังกล่าว 

      นอกจากนี้การปลูกป่าก็เป็นกิจกรรมหนึ่งในเวทีโลกที่ได้มีการกำหนดให้สามารถดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนพื้นฐานของความสมัครใจภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism) ของพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ “CDM” ซึ่งเป็นกิจกรรมการปลูกป่าในพื้นที่ที่เคยเป็นป่าและไม่เคยเป็นป่ามาก่อนก็ได้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการศึกษาพรรณไม้ที่มีศักยภาพสำหรับปลูก ภายใต้โครงการ CDM พบว่า การปลูกสวนป่าไม้สัก รอบตัดฟันประมาณ 30 ปี สามารถดูดซับ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 1.36-2.16 ตันต่อไร่ต่อปี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ปลูก เมื่อตัดฟันแล้วนำไม้สักจากสวนป่าไปใช้ประโยชน์ในการสร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องใช้อื่นๆ ที่มีอายุยืนนานไม้สักเหล่านั้นก็ยังคงสามารถกักเก็บคาร์บอนได้ตลอดอายุการใช้งาน และเมื่อทำการปลูกใหม่สวนสักที่ปลูกใหม่เหล่านั้นก็ยังคงดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ต่อไป ในขณะที่ไม้โตเร็ว เช่น กระถินเทพา กระถินเทพ และยูคาลิปตัส เป็นต้น สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงสุดมากกว่า 6 ตันต่อไร่ต่อปี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ปลูก สำหรับศักยภาพในการดูดซับ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของการปลูกพรรณไม้ต่างๆ สามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก คู่มือศักยภาพของพรรณไม้สำหรับส่งเสริมภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดภาคป่าไม้จัดพิมพ์โดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมกับ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีโครงการปลูกป่าเพื่อกักเก็บคาร์บอนในตลาดภาคสมัครใจ เป็นการดำเนินงานที่อยู่นอกกรอบพิธีสารเกียวโต มีกฎเกณฑ์เข้มงวดน้อยกว่าการดำเนินงานภายใต้พิธีสารเกียวโตจึงสามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ในประเทศไทยเองก็มีกิจกรรมหลายรูปแบบ ที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในภาคป่าไม้ รูปแบบกิจกรรม ที่สำคัญ เช่น ธนาคารต้นไม้ ป่าชุมชน การปลูกป่าในระบบวนเกษตร การปลูกและฟื้นฟูป่า ของภาคเอกชนในรูปแบบ CSR หรือการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม เป็นต้น

ตารางที่ 1 ศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของการปลูกพรรณไม้ต่างๆ 
ชนิด/กลุ่มพรรณไม้
ระยะปลูก/ความหนาแน่น
การดูดซับก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์
(ตัน/ไร่/ปี)
สัก
ระยะปลูก 4 x 4 เมตร 100 ต้น/ไร่
1.36-2.16
ยูคาลิปตัส
ระยะปลูก 2 x 3 เมตร 267 ต้น/ไร่
3.15-6.09
กระถินเทพา
ระยะปลูก 3 x 3 เมตร 178 ต้น/ไร่
4.00-6.09
กระถินณรงค์
ระยะปลูก 3 x 3 เมตร 178 ต้น/ไร่
2.27-4.40
กระถินยักษ์
ระยะปลูก 2 x 3 เมตร 267 ต้น/ไร่
0.77-6.49
โกงกาง
ระยะปลูก 1.5 x 1.5 เมตร 711 ต้น/ไร่
2.75
ยางพารา
ระยะปลูก 3 x 6 เมตร 144 ต้น/ไร่
4.22
ปาล์มน้ำมัน
ระยะปลูก 3 x 6 เมตร 144 ต้น/ไร่
2.49
พรรณไม้พื้นเมืองโตช้า
ไม่น้อยกว่า 100 ต้น/ไร่
0.95
พรรณไม้อเนกประสงค์
ไม่น้อยกว่า 100 ต้น/ไร่
1.47
พรรณไม้ปลูกในเมือง
ไม่น้อยกว่า 50 ต้น/ไร่
1.21


ประโยชน์ของต้นไม้ มีดังนี้
1.ต้นไม้จะ ช่วยคายออกซิเจนในช่วงกลางวัน ทำให้เราได้อากาศบริสุทธิ์ ซึ่งการได้สูดอากาศบริสุทธิ์ มีผลดีต่อสุขภาพ ของเรา
2. ช่วยดูดซับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดภาวะเรือนกระจก ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
3. เป็นร่มเงา บังแสงแดด ให้เกิดความร่มรื่น
4. เป็นที่อยู่ อาศัยของสัตว์ป่า
5. พืช ผล สามารถนำมารับประทานเป็นอาหาร หรือ ยารักษาโรคได้
6. เป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธาร เนื่องจากที่บริเวณราก ที่ดูดซับน้ำ และ แร่ธาตุ เป็นการกัก เก็บน้ำไว้บริเวณผิวดิน
7. บริเวณรากของต้นไม้ ที่ยึดผิวดิน ทำให้เกิดความแข็งแรงของบริเวณผิวดินป้องกันการพัง ทลายจากดินถล่ม เนื่องจากมีรากเป็นส่วนยึดผิวดินอยู่ ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด คือ การสาธิต การนำหญ้าแฝกมาประยุกต์ ป้องกันการพังทลาย ของหน้าดิน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระปรีชา สามารถของพระมหากษัตริย์ ประเทศของเรา
8. เป็นแนวป้องกัน การเกิดน้ำท่วม เนื่องจาก เมื่อเกิดสภาพที่น้ำเกินสมดุล ท่วมลงมาจากยอดเขา จะมีแนวป่า ต้นไม้ ช่วยชะลอความแรง จากเหตุการณ์น้ำท่วม
9. ลำต้น สามารถ นำมาแปรรูปทำประโยชน์ ต่างๆ เช่น บ้านเรือน ที่พักอาศัย สะพาน เฟอร์นิเจอร์ เรือ
10. การปลูกต้นไม้ เป็นการผ่อนคลายความเครียดได้อย่างนึง
11. เมื่อเจริญ สามารถนำไปขายได้ราคา โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก
12 ต้นไม้ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญต่อบรรดาสัตว์ป่า เป็นส่วนนึงในระบบนิเวศวิทยา

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/1403
        http://nru.ku.ac.th/KU_NRU_/?c=page&rpind42&pind=313&rind=42


         
วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2557
        กลุ่มของข้าพเจ้าได้ร่วมกันทำกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการปลูกต้นไม้ ซึ่งได้ไปปลูกกันที่ ริมคลองชลประทาน วัดหุบกระทิง และลานกีฬาสาธารณะ หมู่บ้านตั้งสุข อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 
ภาพปลูกต้นไม้ ริมคลองชลประทาน วัดหุบกระทิง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

ต้นไม้ที่ใช้ปลูก คือ ต้นแค เป็นไม้ยืนต้น เป็นไม้ริมถนน สามารถปลูกได้ทุกที่ และยังเป็นต้นไม้ที่ช่วยปรับปุ๋ยให้พื้นที่อีกด้วย :D
   


ขุดหลุม ๆ :)


ปลูกเสร็จแล้วจ้าาา รดน้ำสักหน่อยยย ~



ภาพปลูกต้นไม้ที่ลานกีฬาสาธารณะ หมู่บ้านตั้งสุข อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี


ต้นไม้ที่ปลูกคือ ต้นไข่เน่า ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ซึ่งเจริญเติบโตดีในพื่นที่ที่แห้งแล้ง





ร่วมมือ ร่วมใจกันนนน เฮ้ !!


















เสร็จเรียบร้อยยยย :3





เพื่อนติดธุระในวันที่ 23 สิงหาคม จึงได้แยกมาปลูกเอง ทีหลัง








ถ้าเราร่วมมือกัน ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โลกของเราก็จะกลับมาน่าอยู่เหมือนเดิม !!